วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

โตขึ้นฉันอยากเป็น...?

โตขึ้นฉันอยากเป็น เภสัชกร หรือ ทำงานเกี่ยวกับสาขาวิชาจุลชีววิทยา

โรคทางพันธุกรรม

            โรคทางพันธุกรรม หรือ โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดพันธุกรรมของฝั่งพ่อและแม่ หากหน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่าเหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้ทั้งนี้โรคทางพันธุกรรม นี้ เป็นโรคติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดย โรคทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม 2 ประการ คือ ความผิดปกติของออโตโซม (โครโมโซมร่างกาย) และความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม (Autosome)
โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกาย ที่มี 22 คู่ หรือ 44 แท่ง สามารถเกิดได้กับทุกเพศ และมีโอกาสเกิดได้เท่า ๆ กัน โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม แบ่งออกเป็น 2 อ่านเพิ่มเติม


โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

         โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรังเกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆเช่น มะเร็ง เบาหวาอ่านเพิ่มเติม





โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ

          โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma) เกิดจากการทำงานสัมผัสกับสารก่อโรคในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสัมผัสสารกลุ่มน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เช่น สารยึดติด สารเคลือบต่าง ๆ สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ ผลิตอีพอกซีย์ และไอที่เกิดจาก การชุบเชื่อมโลหะต่าง ๆ การสัมผัสสารก่อโรค  ชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง  เป็นสารที่เกิดจากผลผลิตทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แมลง พืช ต่าง ๆ เช่น เครื่องเทศ กาแฟ ละหุ่ง  ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ แป้ง เป็นต้น
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
ได้แก่ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารก่อโรค อุตสาหกรรมการผลิตสานยึดติด  อีพอกซีย์ งานเคลือบ ฉาบผิว วัสดุด้วยแลคเกอร์ หรือโพลียูรีเธน งานเชื่อม บัดกรีโลหะ งานทา พ่นสีรถยนต์ อาชีพที่เสี่ยงจากการสัมผัสสาร ก่อโรคชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูงได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมผลิตกาแฟ อุตสาหกรรมการผลิตแป้ง ขนมปัง การทำเฟอร์นิเจอร์อ่านเพิ่มเติม



โรคปอดฝุ่นฝ้าย หรือ บิสสิโนสิส (Byssinosis)


         โรคปอดฝุ่นฝ้าย บิสสิโนสิส หนึ่งในอันตรายของคนที่ทำงานหรือต้องสัมผัสกับสิ่งทอต่าง ๆ เป็นเวลานาน ไม่ใช่แค่หนุ่มสาวโรงงานเท่านั้น แม้แต่ช่างตัดเสื้อก็ยังเสี่ยง 
การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากจะต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ แล้ว การที่ต้องสัมผัสและสูดรับเอาฝุ่นละอองต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายทุกวัน ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสิ่งทอต่าง ๆ อาจป่วยด้วยโรคบิสสิโนสิส หรือ โรคปอดฝุ่นฝ้าย ได้เช่นกัน กระปุกดอทคอม ชวนมาทำความรู้จักกับโรคนี้ พร้อมวิธีป้องกัน
โรคปอดฝุ่นฝ้าย คืออะไร? 
โรคปอดฝุ่นฝ้าย หรือ บิสสิโนสิส (Byssinosis) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังที่เกิดจากการสูดหายใจเอาใยของฝ้าย ป่าน ปอ ลินิน และฝุ่นผงของพืชเข้าไปในปอด ทำให้มีอาการต่าง ๆ ทางระบบทางเดินหายใจ ถือเป็นหนึ่งในโรคปอดจากการประกอบอาชีพ (Pneumoconiosis) อ่านเพิ่มเติม

โรคฝุ่นหิน หรือโรคซิลิโคสิส (Silicosis)

         

          โรคปอดจากฝุ่นหิน  หรือซิลิโคสิส เป็นโรคปอดจากการทำงานที่มีสาเหตุจากการสูดหายใจเอาฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าซึ่งส่วนมากจะพบในหินทรายเข้าไป
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
อาชีพที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคคือ ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ งานที่เกี่ยวข้องกับการตัดหิน สกัดหิน  โรงงานโม่บดย่อยหิน  อุตสาหกรรมทำแก้ว เซรามิก  ครก อุตสาหกรรมทำอิฐ กระเบื้องทนไฟ  วัตถุทนความร้อน เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น
อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ผลึกที่เป็นสาเหตุของโรคซิลิโคสิสมี 3 ชนิดคือ ควอทซ์ (Quarts) คริสโตแบไลท์ ( Cristobalite ) และทริไดไมท์ (Tridimite) ขนาดของฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคซิลิโคสิส  โดยเฉพาะฝุ่นที่ม็ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05 – 5 µ ซึ่งสามารถเข้าไป  อยู่ในถุงลมปอดได้  โดยจะถูกเม็ดเลือ่านเพิ่มเติม

โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ

โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ
การประกอบอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรเวลากว่า 1 ใน 3 ใช้ไปกับการประกอบอาชีพ การจัดสภาพในที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อผู้ประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญ โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายความถึงโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามสาเหตุหรือลักษณะการเกิดโรค เป็น 2 ประเภทคือ
1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชีพเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากทำงานเป็นเวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภอ่านเพิ่มเติม